| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 192 ท่าน 
FreeSplanS MENU
C a l c u l a t o r . . .

Link to us!!!
Link to US!!!


Construction Materials...
  
 | Comment |




บ้านเดี่ยว : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แบบบ้าน ปีกผีเสื้อ
ดู 281









แนวความคิดด้านรูปแบบสถาปัตยกรรม
  • รูปแบบสมัยใหม่ เรียบง่าย
  • สร้างความน่าสนใจด้วยรูปทรงหลังคาปีกผีเสื้อ ช่วยในด้านการประหยัดพลังงาน และเปิดให้ด้านหน้าอาคารดูสง่า และต้อนรับ
  • รูปทรงอาคารแสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยรูปทรงลูกบาศก์ จากผังอาคารและรูปด้านที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้งหมด
  • ใเพิ่มการยื่นและหดตัวของอาคารบางส่วน ประกอบกับเส้นสายที่เกิดจากการแสดงส่วนโครงสร้างเสาและระแนงไม้ ทำให้ดูเบาและน่าสนใจมากขึ้น ไม่ทึบตัน

    แนวความคิดด้านการวางผังอาคาร (Planning)
  • จัดวางตำแหน่งส่วนการใช้สอยแบบกระชับ (Compact planning) เพื่อความประหยัด และทำให้พื้นที่ผิวอาคารที่สัมผัสกับอากาศร้อนภายนอกน้อยลง
  • จัด วางให้ส่วนบริการอยู่ทางทิศตะวันตก คั่นกลางด้วยโถงทางเดินเปิดโ,งระบายอากาศต่อเนื่องสองขั้น เพื่อให้ส่วนใช้งานทางทิศตะวันออกเย็นสบาย และลดภาระของเครื่องปรับอากาศเมื่อจำเป็นต้องเปิดใช้ และสามารถจัดวางงานระบบสุขาภิบาลและเครื่องปรับอากาศได้ง่าย

    แนวความคิดด้านการประหยัดพลังงาน

    1. Orientation

    การ จัดวางส่วนของบ้านที่เป็นห้องน้ำ ครัว บันได ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับอากาศให้บังแดดทางทิศตะวันตก เพื่อมิให้ห้องนั่งเล่นและห้องนอนที่เป็นส่วนปรับอากาศต้องรับแดดบ่าย

    2. Self – Shading

    การถอยร่นผนังชั้นล่างลึกเข้าไปในตัวอาคาร เพื่อให้พื้นที่ห้องชั้นบนช่วยบังแดดให้ผนังห้องชั้นล่างในเวลากลางวัน

    3. Bernoulli Effect

    หลังคา ทรงปีกผีเสื้อ จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ช่องลม Ventura Effect ทำให้ความเร็วลมในห้องใต้หลังคาถูกเร่งขึ้น ก่อให้เกิดความกดอากาศที่เป็น Negative และดูเอาอากาศจากห้องนั่งเล่นด้านล่างขึ้นไป เป็นการระบายอากาศแบบปล่อง

    4. Ventura Effect

    การ จัดวางอาคารให้เกิดช่องลมที่คอดกิ่ว ทำให้อากาศไหลผ่านช่องลมด้วยความเร็วสูงขึ้น มีผลต่อสภาวะที่ดีขึ้น อันเนื่องจากความเร็วลมที่มากขึ้น

    5. Thermal Bridge Reduction

    การ แยกห้องน้ำ ครัว บันได ที่รับแดดตะวันออกจากห้องนั่งเล่น ห้องนอน ที่เป็นส่วนปรับอากาศด้วย “ช่องลม” จะลดการนำความร้อน (Conduction) จากส่วนร้อนสู่ส่วนเย็น หรือ Thermal Bridge

    6. Radioactive Cooling

    หลังคา โลหะสีเข้ม ที่มีค่าแผ่รังสีสูง จะแผ่รังสีความร้อนกลับสู่ท้องฟ้าในเวลากลางคืน ทำให้ผิวหลังคามีอุณหภูมิต่ำลงมาก และอากาศเหนือหลังคาจะเย็นและตกลงมาภายในอาคาร

    7. Latent Load Reduction

    การ แยกส่วนที่มีความชื้นสูง (ครัวและห้องน้ำ) ห่างออกจากส่วนปรับอากาศโดยมิให้มีประตูเปิดเชื่อมถึงกันโดยตรง จะป้องกันความชื้นเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ไม่เกิดภาระทำความเย็นอันเกิดจากความชื้น

    8. Air Infiltration Reduction

    การ ใช้ประตูสองชั้นขั้นเป็น Buffer Zone เพื่อกั้นมิให้เครื่องปรับอากาศเปิดออกสู่ภายนอกบ้านโดยตรง จะช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศจากการรั่วซึมของอากาศ (Infiltration)

    9. Cross Ventilation

    การ เปิดช่องเปิดตรงกันตามแนวแกนยาว ทำให้เกิด Cross Ventilation ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเกิดการไหลของลมผ่านพื้นที่โดยส่วนมากของห้อง

    การใช้วัสดุป้องกันความร้อน (Materials)

  • ใช้วัสดุที่มีค่าการป้องกันความร้อนสูง หาได้ทั่วไปในประเทศ ราคาประหยัด
  • ผนัง Composite Wall ประกอบด้วยผนังคอนกรีตมวลเบา ปิดทับด้านนอกด้วยแผ่น Cellulose Fiber Cement ช่องว่างภายในฉีดพ่นด้วยโฟมโพลียูรีเทน หนา 1 นิ้ว ที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนและความชื้นได้ดี การพ่นฉนวนที่ด้านนอกของผนัง จะช่วยป้องกันการถ่ายเทความร้อนและความชื้นได้ดีกว่าการใช้ฉนวนอยู่ภายใน ผนัง
  • กระจกเลือกใช้กระ จกโฟลตสีเขียวเข้ม Ocean Green ที่มีค่า Shading Coefficient ต่ำ (SC=0.59) แต่มีค่า Visible Light Transmittance สูง (VT=0.72) ซึ่งจะทำให้ความร้อนเข้ามาในบ้านได้น้อย แต่แสงสว่างธรรมชาติจะเข้ามาได้ดี

    คำแนะนำการนำแบบก่อสร้างไปใช้

    1. การจัดวางตำแหน่งอาคาร

  • ให้ จัดวางตัวอาคารตามทิศทางที่กำหนด คือวางส่วนพื้นที่ใช้สอยหลักของบ้านที่วางที่ปรับ อากาศไว้ทางทิศตะวันออกเพื่อให้ลมในแนวเหนือใต้ ผ่านเข้าออกได้สะดวก ช่องเปิดแนวเหนือ-ใต้ ไม่นำความร้อนเข้าบ้าน
  • หากลักษณะที่ดินจำ เป็นต้องเปลี่ยนทางเข้า อาจสลับตำแหน่งที่จอดรถและประตูทางเข้าได้ 4 จุดดังภาพ โดยทางเข้าไม่ควรเปิดเข้าสู่ห้องปรับอากาศโดยตรง

    2. การใช้พืชพันธุ์

  • ควร มีการใช้พืชพันธุ์โดยรอบพื้นที่บริเวณบ้าน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศและยังช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดกระทบตัวบ้านโดย ตรง รวมทั้งเปลี่ยนลมร้อนที่พัดพาจากภายนอกเข้ามาให้เย็นขึ้น

    3. การใช้งาน

  • ให้ส่วนใช้งานบ่อยและส่วนปรับอากาศอยู่ทางทิศตะวันออก
  • พื้นที่ เชื่อมตรงกลางระหว่างส่วนปรับอากาศและไม่ปรับอากาศเปิดให้เป็นทางลมเข้าออก ไม่ควรปรับเป็นผนังทึบ และควรเปิดให้มีการระบายอากาศอยู่เสมอ
  • ทำความสะอาดช่องเปิด มุ้งลวด เกล็ดระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ

    4. การปรับช่องเปิดอาคาร

  • ไม่ควรเพิ่มช่องเปิดทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกซึ่งจะรับเอาแสงแดดโดยตรงเข้ามาในอาคาร
  • อาจเพิ่มช่องเปิดในครัวหรือห้องน้ำเพื่อระบายกลิ่นและความชื้น
  • ไม่ควรลดช่องเปิดที่เป็นทางเดิน รวมถึงช่องเปิดระหว่างฝ้าเพดานกับหลังคา

    5. การปรับการใช้วัสดุในอาคาร

  • ผนัง ส่วนบริการทั้งภายนอกและภายใน สามารถปรับเป็นวัสดุอื่น เช่น การก่ออิฐ ผนังไม้ได้โดยใช้สีอ่อน ส่วนผนังส่วนปรับอากาศควรคงวัสดุเดิม หากไม่ใช้ผนังมวลเบา อาจใช้ Cool block แทน
  • ระแนงกันแดด เกล็ดระบายอากาศอาจเปลี่ยนใช้วัสดุพื้นถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้รวก ไม้เทียม หรือโครงเหล็กแทนก็ได้

    6. ข้อควรระวังในการก่อสร้าง

  • หลังคาปีกผีเสื้อจำเป็นต้องระมัดระวังในการก่อสร้างบริเวณรางน้ำกลางอาคาร ต้องทำระบบกันซึม และเอียงรางน้ำให้ระบายน้ำได้ทัน

    บ้านปีกผีเสื้อ หลังก่อสร้างเสร็จ
    การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงานและอยู่สบายมีวิธีง่ายๆ อยู่ 2 วิธี คือ

    1.ลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคาร (รูปประกอบ 1, HT หมายถึงความร้อนที่ผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน)
    2.ให้มีอากาศถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้านเพื่อให้เกิดลมผ่านบ้าน ซึ่งจะทำให้บ้านอยู่สบาย

    การ ลดปริมาณความร้อนเข้าสู่อาคารเป็นวิธีที่แน่นอน ไม่ซับซ้อน คือการลดความร้อน ทำได้โดยการใส่ฉนวนให้กับผนังบ้านหรือเพิ่มความหนาให้กับผนังบ้านแต่การทำ ให้บ้านอยู่สบายเป็นวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ความอยู่สบายมีศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกว่าความสบายเชิงอุณหภาพ ซึ่งมีปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่สบาย ความสบายเชิงอุณหภาพส่วนมากขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอากาศ ซึ่งสามารถแบ่งการเคลื่อนที่ของอากาศได้ดังนี้

  • การไหลเวียนของอากาศเนื่องจากอิทธิพลของลม
  • ความเร็วลมตามทำเลที่ตั้งของอาคาร
  • การไหลเวียนของอากาศเนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิ
  • การเคลื่อนไหวของอากาศ

    การไหลเวียนของอากาศเนื่องจากอิทธิพลของลม

    เมื่อ มีลมพัดปะทะอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังของบ้านด้านที่ถูกลมปะทะจะมีความดันเป็นบวก อากาศภายนอกจะพยายามดันตัวเข้าไปในอาคาร หากมีหน้าต่างหรือรอยรั่วบริเวณนั้น จะทำให้อากาศสามารถไหลเข้าไปในห้องได้ ส่วนด้านข้างและด้านหลังของอาคารที่ไม่ถูกลมปะทะ จะมีความดันต่ำกว่าด้านที่ถูกปะทะ และอากาศบริเวณนั้นจะมีความปั่นป่วนสูงมาก โดยความดันเฉลี่ยโดยรอบอาคารจะมีค่าเป็นลบ

    ความเร็วลมตามทำเลที่ตั้งของอาคาร ความเร็วลมที่พัดเข้าสู่ตัวบ้านนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศรอบตัวบ้าน และระดับความสูงของจุดที่ลมเข้าปะทะ ความเร็วลม Vh ที่ระดับความสูง h เหนือพื้นดินในภูมิประเทศที่กำหนดจะมีความสัมพันธ์กับความเร็วลมที่วัดได้ จากสถานีวัดสภาพอุตุนิยมวิทยา Vmet ที่ระดับความสูงมาตรฐาน ASCE Standard 7, 1995 ทำเลจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้บ้านอยู่สบาย

    การไหลเวียนของอากาศเนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความหนาแน่นของอากาศจะเป็นส่วนกลับกับอุณหภูมิสัมบูรณ์ของอากาศ ความดันของอากาศแปรผันตรงกับความหนาแน่นของอากาศ ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิของอากาศภายนอกอาคารมีความแตกต่างจากอากาศภายในอาคาร ณ ความสูงเดียวกัน ความดันภายนอกร้อนกว่าข้างใน ทิศทางการไหลเวียนของอากาศจะกลับกันกับทิศทางข้างต้น ปรากฏการณ์นี้จะพบได้ในอาคารที่ใช้ปล่องไฟในเขตหนาว ความดันที่แตกต่างกันในกรณีนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Stack Pressure

    การเคลื่อนไหวของอากาศ
  • เรา สามารถใช้พัดลมช่วยทำให้อากาศภายในห้องหมุนเวียนทำให้เกิดความสบายเชิงอุณห ภาพได้ ซึ่งพัดลมขนาด 12 นิ้ว จะใช้ไฟเพียง 10 วัตต์ พัดลมขนาด 15 นิ้ว จะใช้ไฟเพียง 50 วัตต์ ซึ่งน้อยกว่าการใช้เครื่องปรับอากาศหลายเท่าตัว
  • การใช้ลมธรรมชาติ โดยการก่อสร้างบ้านให้มีหน้าต่างต่อห้องจำนวนมากกว่า 1 ด้าน ซึ่งจะช่วยทำให้ลมพัดผ่านได้สะดวก โดยทั่วไปปริมาณอากาศที่ไหลเวียนนั้นจะมีปริมาณมากกว่าการใช้พัดลมและ Stack effect

    โดยสรุป เราสามารถสร้างความสบายเชิงอุณหภาพภายในบ้านได้โดยการนำเอาความรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของอากาศมาประยุกต์ใช้ ดังนี้

    1.การ ปลูกต้นไม้รอบบริเวณบ้าน ต้นไม้จะช่วยให้เกิดร่มเงา อากาศใต้ร่มไม้จะเย็นกว่าอากาศโดยรอบ เมื่ออากาศส่วนนี้เคลื่อนที่เข้าตัวบ้านจะทำให้รู้สึกเย็นสบาย
    2.การหันทิศของบ้านควรคำนึงถึงกระแสลมธรรมชาติในฤดูต่างๆ ที่พัดผ่านตัวบ้าน
    3.การเปิดช่องเปิดของบ้านจะช่วยให้เกิดลมพัดผ่านตัวบ้าน เมื่ออุณหภูมิภายในและภายนอกบ้านแตกต่างกัน

    นอกจากนี้แล้วการประหยัดไฟฟ้าภายในบ้านอีกวิธีหนึ่งก็คือ การนำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารแทนแสงจากหลอดไฟฟ้าในเวลากลางวัน การออกแบบบ้านที่คำนึงถึงการเปิดให้แสงธรรมชาติเข้าได้ แต่ไม่ใช่แสงจากดวงอาทิตย์จะทำให้เกิดความร้อนเข้ามาในตัวบ้าน โดยการออกแบบให้มีส่วนยื่นของหลังคาหรือส่วนของแผงกันแดดตามบริเวณช่องเปิด ประตู-หน้าต่างของอาคาร ไม่ให้รับแสงโดยตรง แสงที่ผ่านเข้าในตัวอาคารได้จะเป็นแสงสะท้อนเท่านั้น ซึ่งมีพลังงานความร้อนน้อยกว่าแสงตรงจากดวงอาทิตย์ และเป็นแสงที่ทำให้เกิดความสบายตา

    ข้อคิดเห็นประกอบการนำแบบบ้านประหยัดพลังงานของโครงการไปใช้
  • รูปแบบเหมือนบ้านจัดสรรที่ได้ยอมรับกันทั่วไป หลังคาเป็นทรงไทย
  • ห้อง นั่งเล่น ห้องทานอาหาร และห้องนอน 1 อยู่ทางทิศตะวันออก ที่จอดรถ ห้องครัว และห้องนอนเล็ก อยู่ทางทิศตะวันตก เหมาะสำหรับอากาศของภูมิภาค
  • พื้นที่การใช้ สอยแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้มากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาทีละห้องอาจทำให้รู้สึกคับแคบและอึดอัดในบางห้อง เช่น ห้องนอน 1 ห้องรับแขก
  • สามารถควบคุม การก่อสร้างให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด ซึ่งเป็นหลักพิจารณาในการทำโครงการบ้านจัดสรร แต่แนวคิดดังกล่าวก็ส่งผลให้การออกแบบบ้านมีการระบายอากาศธรรมชาติและการใช้ แสงจากธรรมชาติทำได้ยากขึ้น นอกจากนั้นงบประมาณมีผลต่อการเลือกใช้วัสดุของอาคาร จึงทำให้บ้านโมเดิร์นลาวไม่มีความแตกต่างจากบ้านจัดสรรทั่วๆ ไป ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศในการช่วยทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นลง
  • รูปแบบของตัวบ้านมีความพยายามนำเอาลักษณะพื้นถิ่นเข้ามาประยุกต์ใช้ แม้จะยังไม่ลงตัวนัก

    ข้อเสนอแนะ
  • ควร ยกเลิกผนังกั้นห้องรับแขกกับห้องรับประทานอาหาร และห้องนอน 1 กับห้องแต่งตัว เพื่อให้ห้องโปร่ง ระบายอากาศและได้รับแสงธรรมชาติได้มากกว่าที่เป็นอยู่
  • การใช้กระจกสีชาเป็นบานหน้าต่าง แสงธรรมชาติจะเข้าในตัวบ้านได้น้อย ทำให้รู้สึกภายในบ้านดูมืดทึบ ควรใช้กระจกใสตัดแสงแทน

    ข้อคิดเห็นประกอบการนำแบบบ้านประหยัดพลังงานของโครงการไปใช้

  • การ ออกแบบมีจุดเด่นตรงที่ดึงเอาวิถีชีวิตของการอยู่อาศัยในพื้นที่ถิ่น ในภูมิอากาศเขตร้อนมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางพื้นที่ใช้สอย และรูปแบบสถาปัตยกรรม เช่น การจัดวางห้องให้มีลักษณะของการแยกเรือน เพื่อการระบายอากาศ หรือการมีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันแดดแต่พื้นที่ภายในยังคงได้รับแสง ธรรมชาติเพียงพอ
  • แต่ด้วยแนวความคิด ดังกล่าว ทำให้ประสิทธิภาพของการใช้งานภายในบ้านถูกลดทอนด้วยพื้นที่ของทางเดินและที่ ว่าง นอกจากนั้นงบประมาณที่จำกัดซึ่งใช้ไปในส่วนของเปลือกอาคารที่มีพื้นที่มาก จึงไม่สามารถเลือกใช้วัสดุที่ดี มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน
  • รูปแบบเป็นบ้านไทยพื้นถิ่น รูปทรงดูโปร่ง สว่าง ใช้แสงธรรมชาติน้อย เหมือนบ้านพักตากอากาศ หรือรีสอร์ท
  • ที่จอดรถ ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องนอน 2 อยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนห้องรับแขก ห้องนอน 1 อยู่ทางทิศตะวันตก
  • หาก พิจารณาเรื่องความปลอดภัยจะไม่ปลอดภัยจากคนร้าย และมีอันตรายจากการออกแบบที่ไม่ลงตัวหลายจุด เช่น การใช้บานหน้าต่างบานเกล็ดกระทุ้งที่ยาวถึงพื้น ไม่มีขอบกั้น หากมีเด็กอาจพลัดตกได้ บานเกล็ดเป็นแบบเปิดจะมีปัญหาเรื่องแมลงเข้าบ้าน และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทำได้ยาก นอกจากนั้น ยังพบคานที่ไม่ลงตัวโผล่ในอาคารและบังหน้าต่างในห้องครัว

    ข้อเสนอแนะ

  • ควรลดจำนวนเกล็ดระบายอากาศลงบ้าง เพื่อลดค่าบำรุงรักษา และป้องกันแมลง
  • ควรปรับขนาดบานกระทุ้งไม่ให้ยาวถึงพื้น โดยการก่อผนังขึ้นมารับบางส่วน
  • ควรเพิ่มกันสาดบริเวณบันไดขึ้นชั้นสอง เพื่อป้องกันฝนสาด
  • ควรเพิ่มผนังกั้นในตำแหน่งที่อาจไม่ปลอดภัยต่างๆ ของบ้านเพื่อความปลอดภัย

    ข้อคิดเห็นประกอบการนำแบบบ้านประหยัดพลังงานของโครงการไปใช้

  • บ้าน ปีกผีเสื้อมีจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบคำนึงถึงการใช้สอยในสภาพปัจจุบันที่ พื้นที่ใช้สอยของบ้านมีทั้งส่วนปรับอากาศและไม่ปรับอากาศผสมผสานกัน โดยที่แต่ละส่วนนั้นมีความต้องการแตกต่างกัน เช่น เรื่องของการระบายอากาศที่ต้องการมากสำหรับพื้นที่ไม่ปรับอากาศ แต่ต้องการน้อยสำหรับพื้นที่ส่วนปรับอากาศ ซึ่งผู้ออกแบบทำได้ค่อนข้างลงตัว
  • ในส่วนของแนวความ คิดเรื่องการระบายอากาศเพื่อลดการสะสมของความร้อนในตัวบ้าน เช่น ทางเข้าด้านหน้า และช่องลมในห้องรับแขก อาจต้องมีการพัฒนาให้ลดข้อบกพร่องในด้านอื่นๆ แต่ผู้ออกแบบทำได้อย่างน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพดีพอสมควร
  • รูปแบบสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนความเป็นสากล ความทันสมัย เทคโนโลยี ทำให้ลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้น-ฝนชุก ถูกลดทอนลง
  • การเลือกใช้วัสดุ ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนที่ดี ถูกจำกัดด้วยงบประมาณของโครงการ ทำให้ในส่วนปรับอากาศยังคงมีความร้อนเข้ามายังพื้นที่ภายในอาคาร
  • รูปแบบบ้านทรงโมเดิร์น มีส่วนเว้า เพื่อให้แสงและลมเข้า เอกลักษณ์อยู่ที่รูปทรงหลังคา ระบายอากาศได้ดี
  • ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ห้องนอน 1 และห้องนอน 2 อยู่ในทิศตะวันออก ส่วนที่จอดรถและห้องครัว อยู่ทางทิศตะวันตก

    ข้อเสนอแนะ

  • รางระบายน้ำบริเวณรอยต่อของหลังคา ควรมีขนาดกว้างพอที่จะรับน้ำฝนจากหลังคาทั้งสองผืน และเพื่อป้องกันการอุดตันและระบายน้ำไม่ทัน
  • ช่องระบายลมด้านหน้าบ้าน ควรติดตั้งวัสดุกันแมลง เพื่อให้สามารถป้องกันแมลงเข้าบ้านได้

    รายละเอียดบ้าน
    ขนาดพื้นที่ดินในการก่อสร้าง minimum = 56 ตารางเมตร
    ที่ดินกว้าง minimum = 14 เมตร
    ที่ดินยาว minimum = 16 เมตร
    ขนาดพื้นที่ใช้สอย 145 ตารางเมตร ประกอบด้วย ห้องนอน 2 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง
    ห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัว ระเบียงนั่งเล่น ที่จอดรถ 1 คัน
    งบประมาณการก่อสร้าง 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาท)
    ไม่รวมราคาที่ดินระยะเวลาก่อสร้าง 3 – 4 เดือน

    สนใจเข้าชมบ้านตัวอย่าง
    โครงการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานประเภทบ้านเดี่ยว
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    โทรศัพท์ 0 4535 3300 ต่อ 2608 โทรสาร 0 4535 3333

    สนใจแบบบ้านติดต่อได้ที่
    บริษัท TAE2005 จำกัด
    2143/14-15 โชคชัย 4 เขตวังทองหลาง ลาดพร้าว
    กรุงเทพมหานคร 10310







    ออกแบบโดย : บริษัท TAE2005 จำกัด



  •   29/1/2015




     Comment

    Name *
    Email *
    ข้อความ *

     



     
    Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.